
เรื่องราวกล่าวขาน และตำนานความเชื่อของ.. ทางช้างเผือก
ทางช้างเผือก (Milky Way) สถานที่นัดพบของโกโบริกับอังศุมาลิน เป็นเสมือนสัญลักษณ์แห่งความรักอมตะ แต่จริง ๆ แล้วมันมีอะไรอยู่บ้าง มีลักษณะเป็นอย่างไร มีความลับที่ซ่อนอยู่มากมาย
เรื่องราวกล่าวขาน และตำนานความเชื่อของ.. ทางช้างเผือก
ในค่ำคืนเดือนมืดในฤดูร้อน และปราศจากก้อนเมฆฝน คุณเคยลองมองขึ้นไปบนท้องฟ้ากันบ้างหรือไม่
แถบขาวจาง ๆ พาดผ่านบนท้องฟ้าในแนวเหนือใต้ คุณอาจจะคิดว่านั่นเป็นก้อนเมฆหรือเปล่า แต่ความจริงแล้ว เจ้าสิ่งนี้ ก็คือสถานที่ที่ โกโบริ บอกกับ อังศุมาลิน ว่า “ฉันจะไปรอเธออยู่ที่ทางช้างเผือก”
โลกของเราเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ที่ชื่อว่า ดวงอาทิตย์ เรียกรวมว่าเป็นระบบสุริยะ แต่ในเอกภพของเรานั้นกว้างใหญ่ไพศาลยิ่งนัก ไม่ได้มีเพียงแค่ระบบสุริยะของเราเท่านั้น ยังมีระบบของดาวฤกษ์อีกนับแสนล้านระบบหรือพูดง่าย ๆ ว่ามีดาวฤกษ์อีกนับเป็นแสน ๆ ล้านดวง รวมกันอยู่เป็นระบบที่ใหญ่ขึ้นกว่าระบบสุริยะ เราเรียกว่าเป็นเกาะแห่งเอกภพ ดาราจัก หรือ กาแล็กซี (Galaxy) นั่นเองการเรียกชื่อกาแล็กซีของเรานั้นมีชื่อและที่มาแตกต่างกันไป ตามท้องถิ่น ชาวตะวันตกเรียกว่า Milky Way ที่แปลว่า “ทางน้ำนม” เพราะเชื่อว่าเป็นน้ำนมที่พระเจ้าประทานให้กับพระเยซูในวันประสูติ หรือบางแห่งก็อาจมีตำนานที่แตกต่างกันออกไป ส่วนคนไทยเราเรียกว่า “ทางช้างเผือก” ซึ่งมีที่มาจากความเชื่อของคนโบราณที่เชื่อว่าช้างเผือกเป็นช้างคู่บุญบารมีของพระมหากษัตริย์ เป็นสิ่งที่สูงศักดิ์ ทางขาว ๆ ที่พาดผ่านบนท้องฟ้าจึงน่าจะเป็นทางเดินของช้างคู่บุญบารมี ก็คือ ทางช้างเผือกนั่นเอง
กาแล็กซีทางช้างเผือกของเรามีขนาดประมาณ 100,000 ปีแสง* และมีความหนาบริเวณใจกลางประมาณ 10,000 ปีแสง ประกอบไปด้วยดาวฤกษ์นับแสนล้านดวง มีเศษฝุ่น และกลุ่มแก๊สกระจัดกระจาย โดยบริเวณใจกลางของทางช้างเผือกนักดาราศาสตร์เชื่อว่าเป็นบริเวณของหลุมดำที่ทำให้มีแรงดึงดูดมหาศาลจึงสามารถดึงมวลของวัตถุต่าง ๆ ให้อยู่รวมกันภายในกาแล็กซีได้ บริเวณใจกลางทางช้างเผือกจะมีดาวฤกษ์อยู่กันอย่างหนาแน่น รวมถึงฝุ่นและแก๊สจำนวนมาก ทำให้ฝุ่นและแก๊สเหล่านั้นกระเจิงแสงจากดาวฤกษ์ เราจึงสังเกตเห็นความสว่างมากกว่าบริเวณโดยรอบ (บริเวณแขนกาแล็กซี) ระบบสุริยะของเรานั้นอยู่บริเวณขอบรอบนอกของกาแล็กซีทางช้างเผือก และอยู่ห่างจากใจกลางประมาณ 28,000 ปีแสง
บนท้องฟ้านั้นมีอะไรให้เราได้เห็นมากกว่าที่เราคิด ฝ้าขาวๆ ที่พาดผ่านท้องฟ้า ที่บางคนคิดว่าเป็นแค่ก้อนเมฆที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า แต่ความจริงแล้วแฝงความยิ่งใหญ่เกินกว่าที่เราคาดหมาย และมีอะไรที่น่าค้นหาอีกมากมาย ดังนั้นจงอย่าหยุดที่จะสำรวจเพื่อหาความรู้ใหม่ ๆ ไม่แน่คุณอาจจะได้เป็นคนที่ไปหาโกโบริกับอังศุมาลินบนทางช้างเผือก (นักท่องอวกาศ) ก็เป็นได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
สรุป
การสังเกตทางช้างเผือกนั้นสามารถสังเกตเห็นได้ทั้งปี แต่ถ้าเป็นบริเวณใจกลางทางช้างเผือก จะสังเกตได้ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงปลายเดือนตุลาคม โดยช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ใจกลางทางช้างเผือกจะขึ้นจากขอบฟ้าในทิศตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงเช้ามืด และจะขึ้นเร็วขึ้นวันละประมาณ 4 นาที
ทุกท่าน สามารถติดตาม ข่าวสาร สาระความบันเทิงได้จากที่นี่ เว็ปไซต์อีวุ่น ครั้งหน้าอีวุ่นจะมีเรื่องอะไรมาแชร์กันอีก รอติดตามได้เลย
¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨
เมาท์มอยเรื่องหวย ลุ้นเลขรวย เปิดเว็บไซต์อีวุ่น
คลิก www.evoon.co
อีวุ่นขอเมาท์ ↔ อีวุ่นเช็กดวง ↔ อีวุ่นหาเรื่อง ↔ อีวุ่นคัดเลข ↔ อีวุ่นลุ้นหวย
¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨
- ขอได้ ไหว้รับ ไอ้ไข่ เด็กวัดเจดีย์ เรื่องศรัทธาอย่าไปลบหลู่
- ให้กำลังใจ คุณแม่ใหม่ สู่ ๆ นะคะ หลังแพ้ท้องหนักมาก!
- พระราหูย้าย เดือนกันยายน 63 นี้ มี 3 ราศี การเงินโดดเด่น
- ตำนาน พญาเต่างอย พร้อมคาถาบูชาเรียกโชคลาภ ค้าขายร่ำรวย
- เพราะความสวย เป็นของเรา เปิด ฤกษ์ศัลยกรรม กันยายน 63
- 10 ข้อห้าม ความเชื่อเรื่องบ้าน เตือนแล้วนะ ว่าอย่าทำ!